วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาษาฝรั่งเศส






ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Français)

เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกสภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (ฟรองโกโฟน) ประมาณ 77 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 128 ล้านคน
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซีองค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย

ประวัติ

ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ กล่าวคือ เป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาละตินที่พูดกันในจักรวรรดิโรมันโบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกโกล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกโกล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ
หลังจากที่ชาวโรมันได้เข้ามายึดดินแดนของพวกโกล คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็ได้เปลี่ยนมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุงโรม แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษาโกลมาเรียกสิ่งของเหล่านั้น เช่น les braies ซึ่งแปลว่าเครื่องแต่งกายจำพวกกางเกงของชาวโกล

ยุคอาณาจักรแฟรงก์

หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมอำนาจ ดินแดนหลายส่วนของจักรวรรดิโรมันตกอยู่ในเงื้อมมือของชนเผ่าป่าเถื่อนหลายพวก ชนเผ่าป่าเถื่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่าแฟรงก์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือ ชนเผ่าวิซิกอทที่อาศัยอยู่ทางใต้ ชนเผ่าเบอร์กันดีในบริเวณริมแม่น้ำโรน และชนเผ่าเอลแมนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ชนเผ่าป่าเถื่อนเหล่านี้พูดภาษากลุ่มเจอร์เมนิก สำเนียงของชนเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาษาละตินที่เคยพูดอยู่เดิมในฝรั่งเศส และคำจากภาษาของชนป่าเถื่อน ได้แก่ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีในการรบ และชนชั้นทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้ในภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศส โดยภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันมีคำที่มีที่มาจากคำในภาษาของชนป่าเถื่อนอยู่ราว ๆ ร้อยละ 60

ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง

นักภาษาศาสตร์ได้จัดจำแนกภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 จำพวก คือ พวกแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ พวกที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และพวกที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก
Langue d'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งภาษานี้ได้พัฒนามาเป็นภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïl

ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่

นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ คือ "คำปฏิญาณแห่งสตราสบูร์ก" (Strasbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385
ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่างๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2177 พระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอ (Richelieu) ได้ก่อตั้งองค์กรที่เรียกว่า L'Académie Française (อากาเดมี ฟรองแซส หรือ วิทยสถานแห่งประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเปรียบได้กับราชบัณฑิตยสถานของไทย) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ไม่ให้วิบัติ และคงภาษาฝรั่งเศสให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ฝรั่งเศสได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางของปรัชญารู้แจ้งที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น ทำให้อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสแผ่ออกไปกว้างขวางและกลายเป็นภาษากลางของยุโรป มีบทบาทสำคัฐทางการทูต วรรณคดี และศิลปะ มหาราชในยุคนั้นสองพระองค์ คือ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย สามารถตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ดี

ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน

ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย
อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้ควบคุมการใช้ภาษาในเอกสารของเอกชน และในเว็บไซต์ของเอกชน ซึ่งหากทำการควบคุมแล้ว ก็อาจขัดต่อหลักการเสรีภาพในการพูดได้

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา

ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็นชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่างๆของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่างๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาทางการเพียงภาษาเดียวของรัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ในปี พ.ศ. 2536 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้
รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐนิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิโทบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาทางการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มาก

สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาทางการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษาโรมานช์

ภาษาฝรั่งเศษควรรู้


การทักทาย

Bonjour บงฌูร์  สวัสดี
Je m'appelle.... เฌอ มาแป็ล  ฉันชื่อ
Comment allez-vous? กอมอง ตาเล่ วู? คุณสบายดีมั้ย
Je vais bien. เฌอ เว เบียง ฉันสบายดี
Et vous? เอ วู? แล้วคุณล่ะ
Merci แมร์คซี่ ขอบคุณ
Merci beaucoup แมร์คซี่ โบกู ขอบคุณมาก
A bientot อา เบียงโต แล้วพบกันใหม่


1. อักษรในภาษาฝรั่งเศส (L'alphabet français)a อ่านว่า อา
b อ่านว่า เบ
c อ่านว่า ท์เซ
d อ่านว่า เด
e อ่านว่า เออ (ห่อปาก)
f อ่านว่า แอ็ฟg อ่านว่า เช
h อ่านว่า อาช
i อ่านว่า อี
j อ่านว่า ฌี
k อ่านว่า กา
l อ่านว่า แอล
m อ่านว่า แอ็ม
n อ่านว่า แอ็น
o อ่านว่า โอ

p
อ่านว่า เป
q อ่านว่า กูว์
r อ่านว่า แอร์
s อ่านว่า แอส
t อ่านว่า เต
u อ่านว่า อู
v อ่านว่า เว
w อ่านว่า ดุบเบลอะเว
x อ่านว่า อิกซ์
y อ่านว่า อีแกร็กซ์
z อ่านว่า แซด

2. สระ (Les voyelles)

ได้แก่ a,e,i,o,u,y นอกนั้นเป็นพยัญชนะ (Les consonnes)
ส่วน H (อาช) นั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ H muet และ H aspire

1. H muet : จะมีค่าเป็นสระ และทำการเชื่อมเสียงต่อเนื่องเมื่อมีคำนำหน้า

เช่นในคำว่า l'hopital โรงพยาบาล -> un hôpital (เอิง-โน-ปิ-ตอล) = โรงพยาบาล 1 แห่ง

                                             -> l'homme (ลอม-เม่) = ผู้ชาย 1 คน

**เมื่อคำใดขึ้นต้นด้วย H muet แล้วมี articles definis (le, la, les)นำหน้า จะต้องลดรูป le, la เป็น l'ในการอ่านจะต้องอ่านเชื่อมเสียงกัน
2. H aspire
: ออกเสียง อ (o) ตามปกติ ไม่ต้องเชื่อมเสียงและลดรูป

เช่นในคำว่า la haie รั้วต้นไม้,  le honte (เลอ-ออง-เต้) = ความอาย, le héros (เลอ-เอ-โร่) = พระเอก วีรบุรุษ


**เมื่อคำใดขึ้นต้นด้วย H aspire แล้วมี articles definis (le, la, les)นำหน้าไม่ต้องลดรูป และไม่ต้องอ่านเชื่อมเสียง



2. การนับเลขในภาษาฝรั่งเศส
0   Zéro อ่านว่า ซี โคร
1   Un อ่านว่า เอิง
2   Duex อ่านว่า เดอซ์
3   Trois อ่านว่า ทรัวซ์
4   Quatre อ่านว่า กาท เทรอะ
5   Cinq อ่านว่า แซง
6   Six อ่านว่า ซิซ
7   Sept อ่านว่า เซท (เทอะ)
8   Huit อ่านว่า วิทท์
9   Neuf อ่านว่า เนิฟ
10 Dix อ่านว่า ดิซ


3. สระในภาษาฝรั่งเศส Les voyellesสระในภาษาฝรั่งเศส Les voyelles อ่านว่า เลอ โวแยล
สระในภาษาฝรั่งเศสจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

I. Voyelles Simples (โวแยล-แซมป์) คือสระเดี่ยวมีทั้งหมด 6 ตัว
1. a (อา)
2. e (เออ)
3. i (อี)
4. o (โอ) - มี 2 ชนิด ได้แก่
    - o fermé (โอ-ฟอเม่)  

5. u (อู )
6. y (อี
II. Voyelles Compossées (โวแยล-กง-โปส-ซี) คือสระผสม เป็นสระที่ผสมระหว่าง 2 สระเดี่ยวขึ้นไป เมื่อผสมแล้วจะได้เสียงใหม่เช่น
1. an, en (ออง)
2. on, om (อง)
3. au, eau (โอ)
4. ou (อู)
5. oi, oy (อัว)
6. oin (อวง)
7. ain, ein, in (แอ็ง)
8. un, um (เอิง)
9. ail (อาย)
10. ei, ai (แอ)
11. eil (แอย)
12. el (แอล)
13. ie (อี)
14. ai (เอ)
15. eu, oeur (เออ)
16. ien (เอียง)
17. ienne (เอียน)
18. euil (เออย)


มานับเลขต่อ จาก 11-100

11 onze องซ์
12 douze ดูซ
13 treize แทรซ์
14 quatorze กาตอรซ์
15 quinze แกงซ์
16 seize แซซ
17 dix-sept ดีเซท
18 dix-huit ดีวิท
19 dix-neuf ดีเนิฟ
20 vingt แวง

21 vingt et un แวงเตเอิง
22 vingt-deux แวงเดอ
23 vingt-trois แวงทรัว
24 vingt-quatre แวงกัทเทรอะ
25 vingt-cinq แวงแซงค์
26 vinght-six แวงค์ซิซ
27 vinght-sept แวงค์เซทเตอะ
28 vinght-huit แวงค์วิทเตอะ
29 vinght-neuf แวงค์เนิฟ
30 trente ทรองเตอะ

31 trente et un ทรองเตอะเตเอิง
32 trente-deux ทรองเตอะเดอ
33 trente-trois ทรองเตอะทรัว
34 trente-quatre ทรองเตอะกัทเทรอะ
35 trente-cinq ทรองเตอะแซงค์
36 trente-six ทรองเตอะซิซ
37 trente-sept ทรองเตอะเซทเตอะ
38 trente-huit ทรองเตอะวิทเตอะ
39 trente-neuf ทรองเตอะเนิฟ
40 quarante การองเตอะ

41 quarante et un การองเตอะเตเอิง
42 quarante-deux การองเตอะเดอ
43 quarante-trois การองเตอะทรัว
44 quarante-quatre การองเตอะกัทเทรอะ
45 quarante-cinq การองเตอะแซงค์
46 quarante-six การองเตอะซิซ
47 quarante-sept การองเตอะเซทเตอะ
48 quarante-huit การองเตอะวิทเตอะ
49 quarante-neuf การองเตอะเนิฟ
50 cinquante แซงกอง

51 cinquante et un แซงกองเตเอิง
52 cinquante-deux แซงกองเดอ
53 cinquante-trois แซงกองทรัว
54 cinquante-quatre แซงกองกัทเทรอะ
55 cinquante-cinq แซงกองแซงค์
56 cinquante-six แซงกองซิซ
57 cinquante-sept แซงกองเซทเตอะ
58 cinquante-huit แซงกองวิทเตอะ
59 cinquante-neuf แซงกองเนิฟ
60 soixante ซัวซอง

61 soixante et un ซัวซองเตเอิง
62 soixante-deux ซัวซองเดอ
63 soixante-trois ซัวซองทรัว
64 soixante-quatre ซัวซองกรัทเทรอะ
65 vingt-cinq ซัวซองแซงค์
66 soixante-six ซัวซองซิซ
67 soixante-sept ซัวซองเซทเตอะ
68 vinght-huit ซัวซองวิทเตอะ
69 soixante-neuf ซัวซองเนิฟ
70 soixante-dix ซัวซองดิซ

71 soixante et onze ซัวซององซ
72 soixante-douze ซัวซองดูซ
73 soixante-treize ซัวซองแทซ
74 soixante-quatorze ซัวซองกาตอรซ์
75 soixante-quinze ซัวซองแกงซ์
76 soixante-seize ซัวซองแซซ
77 soixante-dix-sept ซัวซองดีสแซ็ต
78 soixante-dix-huit ซัวซองดีสวิท
79 soixante-dix-neuf ซัวซองดีสเนิฟ
80 quatre-vingts กัทเทรอะแวง

81 quatre-vingt-un กัทเทรอะแวงเอิง
82 quatre-vingt-deux กัทเทรอะแวงเดอ
83 quatre-vingt-trois กัทเทรอะแวงทรัว
84 quatre-vingt-quatre กัทเทรอะแวงกรัทเทอร์
85 quatre-vingt-cinq กัทเทรอะแวงแซงค์
86 quatre-vingt-six กัทเทรอะแวงซิซ
87 quatre-vingt-sept กัทเทรอะแวงแซ็ต
88 quatre-vingt-huit กัทเทรอะแวงวิท
89 quatre-vingt-neuf กัทเทรอะแวงเนิฟ
90 quatre-vingt-dix กัทเทรอะแวงดิซ

91 quatre-vingt-onze กัทเทรอะแวงองซ
92 quatre-vingt-douze กัทเทรอะแวงดูซ
93 quatre-vingt-treize กัทเทรอะแวงแทซ
94 quatre-vingt-quatorze กัทเทรอะแวงกาตอรซ์
95 quatre-vingt-quinze กัทเทรอะแวงแกงซ์
96 quatre-vingt-seize กัทเทรอะแวงแซซ
97 quatre-vingt-dix-sept กัทเทรอะแวงดีสแซ็ต
98 quatre-vingt-dix-huit กัทเทรอะแวงดีสวิท
99 quatre-vingt-dix-neuf กัทเทรอะแวงดีสเนิฟ
100 cent ซ็อง


100 = cent (ซ็อง) หนึ่งร้อย
1000 = mille (มิลย์) หนึ่งพัน
10000=dix mille (ดิก-มิลย์) หนึ่งหมื่น
100000=cent mille (ซ็อง-มิลย์) หนึ่งแสน
1000000 = million (มิลลิอง) หนึ่งล้าน
10,000,000 = dix millions (ดิก-มิลลิอง) สิบล้าน
100,000,000= cent millions (ช็อง-มิลลิอง) ร้อยล้าน
1,000,000,000= un milliard (เอิง-มิลลิอา-ทคึ) พันล้าน
1,000,000,000,000= un trillion (เอิง-ติล-ริอง) ล้านล้าน  L’article อ่านว่า ลาคติก


คำนำหน้าคำนามเพื่อบ่งบอกเพศของคำนามนั้นๆ เนื่องจากในภาษาฝรั่งเศส คำนามแต่ละคำจะมีเพศ
และพจน์ในตัวของมันเอง

L’article ในภาษาฝรั่งเศสมีทั้งหมด 6 ตัว แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.  L’article indifini (ลาคติก แองดิฟินี): คำนำหน้าคำนามที่ไม่เจาะจง มีทั้งหมด 3 ตัว คือ

Un (เอิง): นำหน้าคำนามเอกพจน์เพศชายที่ไม่เจาะจง-> un garçon (เอิง-กาซง) = เด็กผู้ชาย 1 คน

Une (อูน): นำหน้าคำนามเอกพจน์เพศหญิงที่ไม่เจาะจง->une fleur (อูน-เฟลอ) = ดอกไม้ 1 ดอก
Des (เด):  นำหน้าคำนามพหูพจน์ใช้ได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่ไม่เจาะจง-> des habits (เด-ซาบิ) = เสื้อผ้าหลายชิ้น (เพศชาย)

->des roses (เด-โทคส) = ดอกกุหลาบหลายดอก (เพศหญิง)  
             
2.  L’article défini ( ลาคติก เดฟินี ) คำนำหน้าคำนามที่เจาะจง มีทั้งหมด 3 ตัว คือ

Le (เลอ): นำหน้าคำนามเพศชายเอกพจน์ที่เจาะจง-> le français (เลอ-ฟรองเซ่) = ภาษาฝรั่งเศส


La (ลา): นำหน้าคำนามเพศหญิงเอกพจน์ที่เจาะจง -> la thaïlande (ลา-ไตลอง-เดะ) = ประเทศไทย


Les (เล): นำหน้าคำนามพหูพจน์ใช้ได้ทั้งเพศชายและหญิงที่เจาะจง
->les chiens (เล-เชียง) = สุนัขหลายตัว (เพศชาย)
->les jupes (เล-ฌูป์) = กระโปรงหลายตัว (เพศหญิง)